สโนวเพีรยสเซอร์ (Snowpiecer)

0
Snowpiercer


สโนวเพีรยสเซอร์ (Snowpiecer) เป็นรถไฟขนาดใหญ่ที่มีความยาวตู้จำนวน 1,001 ขบวน สร้างขึ้นโดยบริษัทวิลฟอร์ดอินทรัสทรี (Wilford Industries) หน้าที่ของมันคือการวิ่งไปรอบโลกที่กลายเป็นยุคน้ำแข็ง เพื่อช่วยรักษาอารยธรรมมนุษย์ให้อยู่รอดสืบต่อไป โดยบนรถไฟยังประกอบไปด้วย ‘ชนชั้น’ ที่แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดกับระหว่าง ‘ผู้ที่มีตั๋วรถไฟ’ กับ ‘ผู้ที่ไม่มีตั๋วรถไฟ’ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘พวกท้ายขบวน’

เดิมทีแล้วสโนวเพียสเซอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของเหล่ามหาเศรษฐี เพื่อที่จะนำพวกเขาไปเที่ยวรอบโลกบนรถไฟหรูหรา ซึ่งทำให้มันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ‘วิลฟอร์ด ดรีมไลนเนอร์’ หรือ ‘สายรถไฟในฝันของวิลฟอร์ด’ จนกระทั่งโลกพบกับวิกฤตโลกร้อนอย่างหนัก เหล่านักวิทยาศาสตร์พยายามจะหาทางทำให้โลกเย็นลง แต่วิลฟอร์ดมองเห็นว่าพวกเขาจะแช่แข็งโลกแทนเสียมากกว่า จึงได้เปลี่ยนรถไฟขบวนนี้ให้เป็น ‘เรือโนอาห์’ จำนวน 1,001 ขบวน ที่มีเป้าหมายคือวิ่งไปรอบโลกไปเรื่อย ๆ จนกว่าสถานการณ์โลกจะดีขึ้น

โครงสร้างของรถไฟ

ความยาวของตู้โดยสารคือ 16 เมตร หรือประมาณ 52.5 ฟุต อย่างไรก็ตามรถทั่วไปมีความยาวเพียง 40 ฟุตและกว้าง 13 ฟุต 6 นิ้ว (ยาว 12.2 เมตรและกว้าง 4.1 เมตร) จากภาพภายนอกของรถไฟ ความสูงของรถดูเหมือนจะแตกต่างกันประมาณ 1.5 ถึง 2 เท่าของความกว้าง (20-26 ฟุตหรือสูง 6-8 เมตร) และจะพอดีกับสองชั้นครึ่ง โดยพื้นที่บนรถไฟถูกใช้ไปเพียง 30% หรือประมาณเกือบครึ่งของความยาวรถไฟที่แบ่งให้กับผู้โดยสสารชั้นหนึ่งกับผู้โดยสารชั้นสอง ในช่วงครึ่งหลังของรถไฟเป็นส่วนของฝ่ายการผลิต และ การเกษตร รวมไปถึงที่อยู่อาศัยของผู้โดยสารชั้นสาม กับผู้คนท้ายขบวน

รถไฟสโนวเพียสเซอร์ใช้เครื่องยนต์ที่เรียกว่า ‘อีเทอนัลเอนจิ้น’ ซึ่งยังไม่มีใครทราบถึงหลักการทำงานของมันอย่างแท้ชัด แต่มันสามารถผลิตพลังงานได้มหาศาลเมื่อรถไฟเดินทางด้วยความเร็วสูง ซึ่งใช้เวลาวิ่งวนรอบโลกครบ 1 รอบในเวลา 2.7 ปี และจากสถิติทุก 133 วันจะเกิดการลุกขึ้นสู้ของท้ายขบวน เมื่อรถไฟวิ่งมาแล้ว 6 ปี กับอีก 10 เดือน หมายความว่าเกิดการปฏิวัติขึ้นมาแล้ว 19 ครั้ง และกำลังจะเริ่มต้นครั้งที่ 20

รางรถไฟมีความยาวมากถึง 318,000 กิโลเมตร ในระหว่างที่วิ่งไปเรื่อย ๆ จะผ่านทุกทวีปบนโลกนี้ ซึ่งแต่ก่อนมันถูกวางแผนไว้เป็นเส้นทางสำหรับการท่องเที่ยว โดยจะผ่านเมืองหลวงสำคัญกว่าร้อยแห่งทั่วโลก จากข้อมูลที่ทราบเรารู้ว่าตอนที่รถไฟออกมาวันที่สองพวกเขาก็ไปหยุดแวะที่ Montreal ต่อมาในวันที่ 39 ไปจอดที่ Cape Town วันที่ 72 เมือง Sydney และวันที่ 103 จอดที่ Panama City และทุกครั้งที่มันวิ่งผ่านจนครบรอบโลก เส้นทางของมันก็จะมีความอันตรายมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างทางสังคม เมืองขนาดย่อมบนรถไฟ

บนรถไฟเป็นบ้านของคนกว่า 3,000 ชีวิต มันถูกออกแบบมาโดยมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในเรื่องชนชั้น สังคม ที่แบ่งออกอย่างง่าย ๆ กับ ‘อาชีพใช้แรงงาน’ กับ ‘อาชีพที่ใช้ความเชี่ยวชาญ’ ในแต่ละกลุ่มมีระดับอิทธิพลและความคาดหวังแตกต่างกัน โดยยังแบ่งสถานะทางสังคมได้อีก 2 ประเภท ได้แก่

ลูกเรือรถไฟ

เป็นกลุ่มที่ได้รับตั๋วรถไฟจากบริษัทวิลฟอร์ดรวมถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีความชำนาญพิเศษที่จะต้องเอาความสามารถมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้บริการผู้โดยสารคนอื่น ๆ บนรถไฟ และช่วยให้เครื่องยนต์ของรถไฟสามารถทำงานได้ต่อไป

ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง

ตัวละครในซีรียส์ Snowpiecer ผู้โดยสารบนตู้รถไฟชั้นหนึ่ง
ตัวละครในซีรียส์ Snowpiecer ผู้โดยสารบนตู้รถไฟชั้นหนึ่ง

เป็นกลุ่มคนเพียงน้อยนิดที่ขึ้นมากด้วยการซื้อตั๋วราคาแพงจากบริษัทวิลฟอร์ด ส่วนใหญ่จะเป็นคนชั้นสูง หรือ เหล่ามหาเศรษฐีทั้งหลาย บางคนก็เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน อีกกลุ่มหนึ่งคือนักลงทุนที่ยอมทุ่มเงินให้กับโปรเจคสโนวเพียสเซอร์ เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตบนรถไฟได้อย่างอิ่มหน่ำสำราญ กินอาหารเลิศรส นอนในตู้รถไฟสุดหรู ผู้โดยสารชั้นหนึ่งส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตไปเรื่อยเปื่อยทำเหมือนกับว่าไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ แถมยังมักเรียกร้องขอสิ่งที่ช่วยสร้างความบันเทิงให้ตัวเองอยู่บ่อย ๆ

ผู้โดยสารชั้นสอง

เหล่าพนักงานและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในซีรียส์ Snowpiecer

กลุ่มคนที่มีความชำนาญพิเศษในหลายด้าน มีฐานะทางสังคมปานกลาง อย่างเช่น ครู หมอ หรือ นักวิจัย อาศัยอยู่ในที่พักกว้างขวางพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายและสิทธิการเจริญพันธุ์ พวกเขาสามารถเข้าถึงรถไฟส่วนใหญ่ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แต่อาจไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง

ผู้โดยสารชั้นสาม

กลุ่มคนใช้แรงงานที่มากันเป็นครอบครัว ส่วนใหญ่จะได้รับสิทธิทางสังคมมากนัก เนื่องจากพวกเขาไม่ได้จ่ายเงินเพื่อขึ้นมาบนรถไฟ ที่อยู่อาศัยและอาหารการกินส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะไม่น่าอภริมย์นัก แต่ก็ไม่ได้แย่ไปกว่าของพวกท้ายขบวน สิทธิในการมีลูกของพวกเขามีจำกัด จะมีลูกได้ก็ต่อมีถูกรางวัลจับสลากเท่านั้น ถือเป็นอีกกลุ่มนี้ที่เป็นขุมกำลังในการขับเคลื่อนรถไฟขบวนนี้ให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยวิลฟอร์ดได้ให้สิทธิ์ที่จะยื่นคำร้องเพื่อแก้ปัญหาในข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

พวกท้ายขบวน

กลุ่มคนเหล่านี้แต่เดิมไม่เคยอยู่ในแผนของวิลฟอร์ดมาก่อน พวกเขาอาศัยอยู่ในตู้เก็บสินค้าท้ายขบวน และไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงพื้นที่ส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ได้ ยกเว้นในกรณีพิเศษที่บางคนอาจได้ไปเห็น หรือ ถึงขั้นได้เลื่อนไปอยู่ชั้นสาม กลุ่มคนท้ายขบวนเหล่านี้มีความเข้มแข็งอย่างมาก พวกเขาพยายามที่จะหาทางไต่ขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดของสังคมในสโนวเพียสเซอร์ คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นมาอยู่จุดนี้ได้ต่างใช้กำลังตู้สู้เพื่อขึ้นมาทั้งนั้น

พวกเขาเคยมีกันมากกว่า 400 คน แต่จำนวนของพวกเขาลดน้อยลงเรื่อย ๆ จากการลงโทษ หรือ ความอดอยากจากความขาดแคลนอาหาร คนที่เคยอยู่ท้ายขบวนนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นอย่างมาก แม้ว่าพวกเขาบางส่วนอาจไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาก็จะกลับมาร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง

เรื่องที่น่าสนใจบนสโนวเพียซเซอร์

  • สโนวเพียซเซอร์ทำความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 99.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าวิ่งช้ากว่านี้จะทำให้ไฟบางส่วนในรถไฟดับ
  • บนรถไฟมีตลาดขายของเถื่อน หนึ่งในสินค้าขายดีคือ ‘โครโน’ เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง
  • พื้นที่ต่าง ๆ บนรถไฟสามารถเข้าถึงได้ผ่านชั้นอุโมงค์ใต้รถไฟ แต่ไม่สามารถเข้าไปถึงส่วนท้ายขบวนได้
  • ลูกเรือบนรถไฟสามารถสั่งปิดพื้นที่ระหว่างชั้นลูกค้าได้ในตอนกลางคืน โดยไม่จำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยได้ทำกัน
  • ผู้โดยสารส่วนใหญ่มีชิปที่ใช้ในการเข้าถึงส่วนต่าง ๆ บนรถไฟตามประเภทงานของเขา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

%d bloggers like this: